ความแตกต่างจากคาราวัจจิโอ ของ อันนีบาเล การ์รัชชี

ไปไหน?” (Domine quo vadis? ) โดยคารัคชี (พระเยซูและนักบุญปีเตอร์)

นักวิจารณ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 จิโอวานนิ เบลโลริเขียนในหนังสือการสำรวจชื่อ “ความคิด” สรรเสริญคารัคชีว่าเป็นผู้นำของจิตรกรชาวอิตาลีผู้ใช้วิธีการเขียนอันสูงส่งของราฟาเอลและไมเคิล แอนเจโล แต่ขณะที่ชื่นชมกับความสามารถของคาราวัจจิโอในฐานะจิตรกร เบลโลริก็วิจารณ์การเขียนที่เกินความเป็นธรรมชาติและความยุ่งเหยิงในจริยธรรมและตัวแบบภาพในภาพ แต่ในขณะเดียวกันก็วิจารณ์ผู้เขียนภาพในตระกูลคาราวัจจิโอ เบลโลริมีความเห็นว่าจิตรกรควรจะวาดความงามแบบจินตนาการแบบพลาโตแทนที่จะยกย่องวาดคนข้างถนนอย่างโรมัน แต่ผู้อุปถัมภ์และลูกศิษย์ของคารัคชีและคาราวัจจิโอมิได้มีความเห็นเช่นที่ว่า เช่นมาร์ควิสวินเช็นโซ จุสติเนียนิ (Vincenzo Giustiniani) ผู้มีความเห็นว่าเป็นงานที่มีความเด่นใน “maniera” และ “modeling”[1]

ในคริสต์ศตวรรษปัจจุบันนักวิจารณ์เริ่มมองภาพเขียนของคาราวัจจิโอในทางที่ดีขึ้นและมักจะละเลยความมีอิทธิพลทางศิลปะอันลึกซึ้งของคารัคชี คาราวัจจิโอแทบจะไม่เคยเขียนจิตรกรรมฝาผนัง แต่งงานชิ้นเอกส่วนใหญ่ของคารัคชีเป็นงานจิตรกรรมฝาผนัง ฉะนั้นงานที่มือทึมบนผืนผ้าใบของคาราวัจจิโอจึงดูจะเหมาะกับการใช้ตั้งในชาเปลสำหรับการวิปัสสนาเป็นการส่วนตัวมากกว่าที่จะเป็นภาพบนเพดานอันสว่างกว้างใหญ่อย่างที่วังฟาร์เนเซ วิตต์คาวเออร์ประหลาดใจที่คาร์ดินัลฟาร์เนเซเลือกภาพเขียนที่ตกแต่งโดยคารัคชี ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความผ่อนคลายจากการอยู่ในกรอบความคิดเห็นของการปฏิรูปซ้อนของนิกายโรมันคาทอลิก หัวเรื่องที่คารัคชีเลือกอาจจะเป็นการแสดงความกล้าที่จะออกนอกกรอบมากกว่างานส่วนใหญ่ของคาราวัจจิโอที่เป็นงานทางศาสนาที่ออกไปทางเคร่งขรึม วิตต์คาวเออร์กล่าวว่างานของคารัคชีแสดงถึงความมีชีวิตจิตใจและพลังที่ถูกกดดันกันมานาน

ในปัจจุบันผู้ที่เดินทางไปชมชาเปลเซราสิ (Cerasi Chapel) ในวัดซานตามาเรียเดลโปโปโลมักจะละเลยชมภาพ “ฉากแท่นบูชาอัสสัมชัญของพระแม่มารี” โดยคารัคชีที่เขียนระหว่างปี ค.ศ. 1600 ถึงปี ค.ศ. 1601 แต่ไปชื่นชมกับงานของคาราวัจจิโอที่ขนาบแทนที่ สิ่งที่ควรจะศึกษาคือการเปรียบเทียบการอัสสัมชัญของพระแม่มารีทางคริสต์ศาสนวิทยากับทางศิลปะระหว่างงาน “อัสสัมชัญของพระแม่มารี” ของ คารัคชี[2] และ “ความตายของพระแม่มารี” โดยคาราวัจจิโอ สำหรับผู้ร่วมสมัยคารัคชีจะเป็นผู้ที่คิดค้นอะไรใหม่ๆ โดยการทำให้มโนทัศน์ของงานจิตรกรรมฝาผนังของไมเคิล แอนเจโลมีชีวิตจิตใจขึ้นและเพิ่มกล้ามเนื้อและความสดใสในภูมิทัศน์ที่เขียนซึ่งถูกริดรอนลงไปโดยลัทธิแมนเนอริสม์ ขณะที่ไมเคิล แอนเจโลบิดเบือนตัวแบบไปในรูปต่างๆ คารัคชีในงานฟาร์เนเซยิ่งทำให้ตัวแบบเหมือนจะโลดออกมาได้ การเขียนภาพผนังหรือเพดานขนาดใหญ่ในทศวรรษต่อๆ มาจึงเป็นการเขียนแบบคารัคชีไม่ใช่คาราวัจจิโอ

ฉากแท่นบูชาอัสสัมชัญของพระแม่มารีในวัดวัดซานตามาเรียเดลโปโปโลในกรุงโรม

ในคริสต์ศตวรรษต่อมาไม่ใช่ผู้ที่นิยมคาราวัจจิโอที่ละเลยคารัคชีแต่เป็นผู้นิยมจานโลเรนโซ แบร์นินีและเปียโร ดา คอร์โทนา ศิลปะบาโรกถูกโจมตีโดยนักวิจารณ์ฟื้นฟูคลาสสิกเช่นโยฮันน์ โยอาคิม วิงเคลมันน์ (Johann Joachim Winckelmann) และแม้แต่ต่อมาโดย จอห์น รัสคิน (John Ruskin). คารัคชีได้รับการยกเว้นบ้างเพราะเป็นผู้ที่เขียนภาพแบบราฟาเอลซึ่งเป็นผู้ที่มีความนิยม และในจิตรกรรมฝาผนังที่ฟาร์เนเซคารัคชีเลือกหัวเรื่องเกี่ยวกับตำนานเทพ